การอุดฟัน เป็นการบูรณะรักษาฟันที่ผุ ฟันที่สูญเสียเนื้อฟันให้สามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง รวมทั้งยังสามารถช่วยป้องกันการผุที่อาจจะเพิ่มขึ้น ด้วยการปิดรูหรือร่องแหว่งของฟันที่แบคทีเรียจะเข้าไปได้ ทำให้ฟันกลับมามีรูปทรงดังเดิม
ขั้นตอนการอุดฟัน
- ทันตแพทย์จะเตรียมฟันโดยการกรอเอาส่วนที่ผุและเศษอาหารออกจนหมด ให้เหลือแต่เนื้อฟันที่ดีและแข็งแรงเอาไว้ แล้วทำความสะอาด
- อุดฟันด้วยวัสดุอุดฟัน จากนั้นตกแต่งเกลี่ยวัสดุให้พอดีและมีรูปร่างลักษณะที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด และรอให้วัสดุแข็งตัว
วัสดุที่นำมาใช้อุดฟัน
1.ทอง (Gold)
ถึงแม้จะเป็นวัสดุอุดฟันที่มีราคาแพง แต่มีอายุการใช้งานถึง 20 ปี และไม่ค่อยระคายเคืองต่อเหงือก แต่สีของทองสามารถสังเกตเห็นได้ชัด ส่วนใหญ่จึงมักจะทำที่ฟันกราม
2.วัสดุอมัลกัม (Amalgam)
เป็นวัสดุโลหะผสมระหว่างปรอทผสมเงินและทองแดง มีความแข็งแรงเพราะมีโลหะเป็นส่วนผสม เหมาะสำหรับการอุดฟันกรามที่ต้องรองรับแรงบดเคี้ยว ไม่นิยมทำที่ฟันหน้า เพราะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เมื่อใช้ไปนานๆ มักจะมีสีคล้ำขึ้น วัสดุอมัลกัมนั้นไม่สามารถยึดติดกับฟันเองได้ ทำให้คนไข้ต้องสูญเสียเนื้อฟันไปมากเมื่อเทียบกับการอุดฟันประเภทอื่น แต่ข้อดีของการอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม คือมีราคาถูกและมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก แต่หลังจากอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัมแล้ว ห้ามใช้ฟันที่อุดเคี้ยวอาหาร เพราะต้องรอให้วัสดุแข็งตัวก่อน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง
3.คอมโพสิตเรซิน ( Composite Resin )
ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่ให้สีที่เหมือนกับฟัน มีให้เลือกหลายเฉดสี ใช้อุดได้ทั้งฟันหน้าและฟันหลัก สามารถแต่งรูปทรงได้ง่าย เป็นวัสดุโดยส่วนใหญ่ใช้ในบริเวณที่ต้องการความสวยงามและความเป็นธรรมชาติ โดยหลังจากกรอฟันตบแต่งส่วนที่ผุออกแล้ว ทันตแพทย์จะเตรียมและใส่คอมโพสิตเรซินอุดฟันโดยตรง แล้วฉายแสงจากเครื่องฉายแสงทางทันตกรรมเพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้วัสดุแข็งตัว โดยต้องอาศัยสารยึดติดช่วยให้คอมโพสิตเรซินติดกับฟัน แต่การอุดฟันประเภทนี้จะไม่สามารถใช้อุดฟันบริเวณกว้างมากนั้น เพราะอายุการใช้งานของคอมโพสิตเรซินน้อยกว่าวัสดุอมัลกัม และมีราคาแพงกว่า แต่มีข้อดีตรงที่การกรอเนื้อฟันจะน้อยกว่าวัสดุอมัลกัม และสามารถเลือกสีให้ตรงตามสีฟันของแต่ละบุคคล จึงเหมาะกับการอุดฟันที่ต้องการความสวยงาม
4.พอร์ชเลน
โดยเป็นการอุดฟันในกรณีที่ฟันมีการผุหรือแตกขนาดใหญ่ ซึ่งวัสดุอุดฟันปกติไม่แข็งแรงพอจะทำได้ โดยเป็นการสร้างชิ้นงานจากห้องแล็บ แล้วนำชิ้นงานมายึดกับฟันที่มีการกรอแต่งไว้ สามารถทำสีให้เข้ากับสีฟันของคนไข้ได้ และมีความทนทานต่อคราบ โดยความแตกต่างระหว่าง อินเลย์ และ ออนเลย์ คือ
-
- อินเลย์ ใช้สำหรับฟันที่มีรอยผุหรือความผิดปกติภายในขอบเขตด้านการบดเคี้ยวของฟัน
- ออนเลย์ ใช้สำหรับฟันที่มีรอยผุหรือความผิดปกติที่กินบริเวณมากกว่า 1 ด้าน
ส่วนวัสดุที่นำมาใช้ อินเลย์หรือออนเลย์ มีให้เลือกหลากหลาย อาทิ โลหะที่มีส่วนผสมของทองในเปอร์เซ็นต์ที่สูง, วัสดุสีเหมือนกันประเภทเรซินคอมโพสิท และเซรามิก ดังนั้นการทำอินเลย์หรือออนเลย์จึงมีราคาที่สูงกว่าการอุดฟันปกติ เพราะมีความทนทานต่อคราบได้ดี และมักจะครอบคลุมเนื้อที่ฟันส่วนใหญ่ด้วย
การดูแลรักษาหลังได้รับการอุดฟัน
- แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้น้ำยาบ้วนปากและไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะตรงส่วนที่อุดฟันมา อย่างให้มีคราบแบคทีเรียและหินปูนมาเกาะ
- ควรมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและขุดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน
- หากเกิดอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน หรือมีการแตกหลุดของวัสดุที่อุดฟัน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการแก้ไขอุดฟันใหม่
- การอุดฟันจะไม่มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับฟันธรรมชาติ จึงควรดูแลเป็นพิเศษ ไม่รับประทานหือกัดอาหารที่มีความแข็ง โดยเฉพาะผู้ที่บูรณะฟันหน้าด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน หากอยากรับประทานจริงๆ ให้แบ่งเป็ฯชิ้นเล็กๆ ก่อน
- หากพบปัญหาว่า วัสดุที่อุดฟันอยู่นั้นมีรอยแตกร้าว หรือบิ่น ให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำหารแก้ไข้ซ่อมแซมหรือรื้อทำใหม่ เพราะรอยแตกบิ่นเหล่านั้นสามารถเป็นแหล่งกักเก็บเศษอาหาร ทำให้มีเชื้อโรคและแบคทีเรียจำนวนมากสะสมอยู่ตามซอกรอยแตกและทำให้เกิดปัญหาฟันผุขึ้นมาได้
- ผู้ที่บูรณะฟันด้านประชิด จำเป็นต้องใช้ไหมขัดฟัน กำจัดเศษอาหารและคราบจุลินทรีย์เป็นประจำด้วย เพื่อป้องกันการผุซ้ำในวัสดุอุดฟันขึ้นมาอีก
การอุดฟัน เป็นการบูรณะฟันที่เสียหาย ซึ่งพอทำแล้วสามารถมีอายุการใช้งานเมื่ออุดฟันไปแล้ววัสดุหลายชนิดมีอายุมากกว่า 10 ปี เลยทีเดียว หากเราดูแลอย่างดี และควรตรวจสอบความผิดปกติของฟันที่อุดมาอยู่เสมอ ว่ามีรอยแตกบิ่นหรือมีสีที่เปลี่ยนไปรึเปล่า หรือดื่มน้ำแล้วมีอาการเสียวฟันไหม หากตรวจพบให้ไปปรึกษาทันตแพทย์ได้ทันที เพื่อรักษาตั้งแต่อาการเริ่มต้น หากปล่อยไว้นานทำให้ฟันผุมากจนไม่สามารถอุดได้ คุณอาจจะต้องรักษาโดยการรักษารากฟัน หรือ ครอบฟัน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าการอุดฟัน
คลินิกอุดฟัน คลินิกทันตกรรมอุดมสุข สกายเทรน