พฤติกรรมในการกินของเด็กๆ สามารถบ่งบอกลักษณะบุคลิกภาพของเด็กได้ไหม? การศึกษาใหม่ๆ พบว่าทั้งสองสิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกัน แต่นักวิจัยหลายเหล่านั้นก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทั้งสองสิ่งนี้มีอิทธิพลต่อกันยังไง
จาการศึกษาและวิจัยพฤติกรรมเด็กๆ พวกเขาพบว่า
- เด็กที่กินช้า จะเป็นคนไม่ค่อยเปิดเผยและไม่หุนหันพลันแล่น ค่อยๆคิด
- เด็กที่กินอาหารเร็ว หรือ มีการตอบสนองรวดเร็วต่ออาหาร เช่น อยากทานเมื่อเห็น ได้กลิ่น หรือได้ชิม จะมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นเด็กที่กระวนกระวาย อึดอัด และจะมีความรู้สึกไม่ค่อยผ่อนคลาย
การค้นพบอีกประการหนึ่งก็คือเด็กที่ตอบสนองต่อความรู้สึกอิ่มดีมักจะควบคุมตัวเองได้ดีเช่นกัน
การศึกษานี้มี 28 คนที่ตกลงเข้าร่วมหลักสูตรปรับความเร็วการกินของเด็กที่มีอายุระหว่าง 4 ขวบ ถึง 8 ขวบ
การศึกษานี้มีความสำคัญมากเพราะว่าการกินเร็วขึ้นและมีการตอบสนองต่ออาหารมากขึ้นนั้นมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงโรคอ้วนในเด็ก
กล่าวโดย Myles Faith (study co-author, professor of counseling, school and educational psychology at the University of Buffalo’s Graduate School of Education)
Faith กล่าวไว้ในการแถลงข่าวของมหาวิทยาลัยว่า “การศึกษานี้เป็นที่ยอมรับว่ารูปแบบการกินและอารมณ์ของเด็กนั้นสัมพันธ์กัน, แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงมีคำถามว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันอยู่” และ “การติดตามทำวิจัยครอบครับต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยคลี่คลายวิถีทางการพัฒนาการเหล่านี้ได้”
Dr.Robert Berkowitz (co-lead investigator, director of the Weight and Eating Disorders Research Program at Children’s Hospital of Philadelphia) กล่าวว่า
“อารมณ์หรืออุปนิสัยนั้นมีความเชื่อมโยงต่อการพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กมาก แม้ว่าจะมีหลักฐานใหม่ๆ ให้เห็นแต่ก็มีการศึกษาเพียงไม่กี่ชิ้นที่มีการสำรวจถึงความสัมพันธ์กับโรคอ้วนในเด็ก”
จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ที่มีต่ออารมณ์และพฤติกรรมการกินของลูก กล่าวโดย Alyssa Button (study co-lead investigator and first author, doctoral candidate in the University of Buffalo’s Graduate School of Education, and senior research support specialist in the department of pediatrics in the university’s School of Medicine and Biomedical Science)
Button กล่าวในตอนเปิดตัวว่า
“ผู้ปกครองอาจใช้อาหารเพื่อปลอบลูกเจ้าอารมณ์และบรรเทาอารมณ์ด้านลบของลูก”
เธอตั้งข้อสังเกตว่า “การวิจัยในอนาคตควรตรวจสอบวิธีการต่างๆ ที่พ่อแม่เลี้ยงลูกเพื่อตอบสนองต่ออารมณ์ของพวกเขา รวมทั้งสำรวจว่าความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และพฤติกรรมการกินมีความผูกพันกันหรือไม่” และ “นิสัยการกินช้าลงเมื่อเวลาผ่านไป จะทำให้อารมณ์ฉุนเฉียวลดลงได้หรือไม่“
การศึกษานี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Pediatric Obesity ฉบับเดือนมิถุนายน
ข้อมูลเพิ่มเติม
The American Academy of Pediatrics เป็นผู้เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการเด็ก
ที่มา: University at Buffalo, news release, July 7, 2021