Category Archives: ทันตกรรม

อายุเท่าไหร่จึงจัดฟันได้

จัดฟันอายุเท่าไร

            อายุสำคัญแค่ไหนในการจัดฟัน เมื่อฟันคือด่านแรกของการบทเคี้ยวอาหารสู่ร่างกาย การทำงานที่สมบูรณ์แบบของฟันจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการย่อยของร่างกาย             แต่ไม่ใช่จะทุกคนจะมีการเรียงตัวของฟันที่สวยงามและสามารถบทเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหานี้จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีทางด้านทันตกรรมที่เรียกว่า การจัดฟัน ซึ่งเป็นการนำเอาเครื่องมือแพทย์ที่เรียกว่าเหล็กจัดฟัน มาทำการครอบเข้าไปที่ฟันของเรา ซึ่งการจัดฟันก็มีหลายประเภท ทั้งจัดฟันด้านนอกแบบโลหะ จัดฟันด้านนอกแบบใส่ จัดฟันด้านใน หรือการจัดฟันรูปแบบใหม่อย่าง การจัดฟันแบบดามอม แต่คำถามที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ สำหรับคนที่มีปัญหาโครงสร้างของฟันก็คือ อายุขนาดไหนถึงจะสามารถจัดฟันได้ อายุมากๆ แล้วสามารถทำได้รึเปล่า ผลการรักษาจะมีประมิทธิภาพเท่ากันหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบของคำถามเหล่านี้กัน อายุเท่าไหร่ถึงจะจัดฟันได้ คำตอบคือ การจัดฟันจะเริ่มได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาช่องปากของเรา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมองเห็นปัญหาชัดๆ ตอนที่มีฟันแท้ขึ้นเกือบครบแล้ว นั้นคือช่วงวัย 10-14 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกำลังเจริญเติบโตได้ดี การเข้ารับการจัดฟันในช่วงวัยนี้ผลการรักษาจะออกมามีคุณภาพสูง เพราะเป็นช่วงที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาโครงสร้างหน้า ซึ่งมีส่วนช่วยให้การรักษาง่ายขึ้น แต่หากเด็กมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมอื่นๆ อย่างเช่น  ดูดนิ้ว ชอบเอาลิ้นดุ้นฟัน ก็จำเป็นต้องจัดฟันตั้งแต่อายุยังน้อยเลยทีเดียว ส่วนคนที่มีอายุมากๆ ตั้งแต่ประมาณ 30 ปีขึ้นไปก็สามารถจัดฟันได้ แต่ต้องดูปัจจัยอื่นๆ รวมด้วย […]

ไม่ดีแน่..หากฟันน้ำนมหลุดก่อนวัยอันควร

ฟันน้ำนมหลุด

        ฟันชุดแรกของคนเราจะเรียกว่า ฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือนไปเรื่อย ๆ จนเต็มปาก  พออายุประมาณ 5-6 ขวบ ฟันหน้าจะเริ่มโยก และค่อย ๆ หลุดออกไปเองตอน 6-7 ขวบ แต่ในเด็กบางคนที่ฟันน้ำนมผุตั้งแต่เด็ก จนต้องถอนออกไม่สามารถรักษารากฟันได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะการที่เด็กฟันน้ำนมหลุดก่อนวัยอันควร จะทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ดังนี้ เด็กจะไม่มีฟันไว้คอยบดเคี้ยวอาหาร ทำให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือไม่อยากทาน ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้วย ทำให้ฟันหลอ เพราะฟันน้ำนมถูกถอนออกก่อนเวลาที่ควรจะหลุด และฟันแท้ยังไม่ถึงเวลาขึ้น ถ้าถูกถอนฟันตั้งแต่ตอนเด็ก อาจจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรได้ อาจส่งผลต่อการเรียงตัวของฟันแท้ในอนาคตได้ เช่น ฟันซ้อน ฟันเก ฟันไม่สบกัน   ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่งในอนาคต แนวทางรักษาแก้ไขมีหลายวิธี ซึ่งเมื่อเราเห็นสิ่งผิดปกติของฟันน้ำนมเด็ก เราจึงควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ทันที   ถ้าพบว่ามีรอยดำหรือรอยฟันผุ แต่ยังไม่มีอาการปวด ทันตแพทย์จะได้ทำการอุดฟันให้ทันที หากเด็กมีฟันผุและมีอาการปวดฟันร่วมด้วย ทันตแพทย์จะทำการวิเคราะห์ดู หากสามารถรักษารากฟันน้ำนมไว้รอฟันแท้ขึ้นได้ ทันตแพทย์ก็จะรักษาไว้ […]

รีเทนเนอร์ ต้องใส่ถี่แค่ไหน

Retainer

     รีเทนเนอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อคงสภาพฟัน เพื่อไม่ให้ฟันเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งที่เป็นอยู่หลังจากที่ทันตแพทย์ถอดเหล็กที่ดัดฟันเราออก   รีเทนเนอร์ (Retainer) มี 2 แบบ  รีเทนเนอร์ชนิดถอดได้  รีเทนเนอร์ชนิดนี้ จะประกอบด้วยโครงพลาสติค และมีลวดวางบนตัวฟัน สามารถเลือกสีได้ตามใจชอบ รีเทนเนอร์ชนิดนี้จะสามารถ ถอดเข้า-ถอดออกเพื่อทำความสะอาดได้ และเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน รีเทนเนอร์ชนิดติดแน่นที่ถูกยึดติดกับฟันด้านใน มักใช้ติดแน่นบริเวณด้านใน ของฟันหน้าล่าง    ทำไมจึงต้องใส่รีเทนเนอร์       เราจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันที่จัดมาแล้วเลื่อนกลับไปที่ตำแหน่งเดิมหรือ เคลื่อนย้ายไปตำแหน่งอื่น เราจึงต้องใส่รีเทนเนอร์ จนกว่าฟัน ฟันกราม และเหงือกจะปรับลักษณะให้เข้ากับฟันที่อยู่ในตำแหน่งใหม่ที่ถูกต้องได้หรือใส่ตามคำแนะนำของทันตแพทย์จัดฟัน  การดูแลและการเก็บรักษารีเทนเนอร์ ควรแปรงรีเทนเนอร์ทุกครั้งพร้อมกับการแปรงฟัน ทั้งเช้าและเย็น ทำความสะอาดโดยใช้แปรงสีฟันแบบนุ่มมากร่วมกับสบู่หรือน้ำยาล้างจานแปรงให้สะอาดค่ะ (ในยาสีฟันมีผงขัด ทำให้เป็นรอยในเนื้อพลาสติกและทำให้แบคทีเรียเข้าไปสะสมได้ แต่ถ้าไม่สะดวกจะใช้ก็สามารถใช้ยาสีฟันได้ แต่ไม่ควรแปรงแรงมากเกินไป) ห้ามแช่ในน้ำร้อน หรืออุ่นมากๆ เพราะจะทำให้มันเกิดการบิดเบี้ยวได้ ใช้เม็ดฟู่ช่วยทำความสะอาดเพิ่มเติมได้ ระวังการถอดรีเทนเนอร์ไว้แล้วลืม เช่น ไปทานอาหารแล้ววางรีเทนเนอร์ไว้บนทิชชู่ พอทานเสร็จแล้วลืม ควรหาตลับมาไว้ใส่รีเทนเนอร์โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการสูญหาย […]

ควรพาลูกมาพบหมอฟันครั้งแรกเมื่อไหร่

พบหมอฟันเด็ก

         เมื่อคุณพาลูกมาพบทันตแพทย์เพื่อทำฟัน หรือตรวจสุขภาพฟันสำหรับเด็กในครั้งแรก คำถามที่คุณหมอมักได้ยินคือ  ควรจะพาลูกมาทำฟัน จัดฟัน สำหรับเด็ก ได้ตั้งแต่เมื่อไร ซึ่งคำตอบที่ได้รับคือ คุณสามารถมาเด็ก ๆ มาหาคุณหมอได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกที่เพิ่งขึ้น หรือภายในขวบปีแรกได้เลย วัตถุประสงค์สำคัญที่คุณควรพาลูกมาพบกับทันตแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆเพราะ ครั้งแรกที่ลูกของคุณเจอกับทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะสร้างความคุ้นเคย สร้างความประทับใจที่ดี ระหว่างทันตแพทย์กับเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีความทรงจำที่ดีกับการมาเจอทันตแพทย์ ไม่มีความรู้สึกกลัว   การมาพบทันตแพทย์ครั้งแรก ในขณะที่เด็กไม่ได้มีอาการปวดฟัน หรือมีปัญหาทางสุขภาพฟันใดๆ ทันตแพทย์จะทำการตรวจฟัน ขัดฟัน เท่านั้น  เด็ก ๆ จะมีทัศนคติที่ดีต่อการทำฟัน และไม่กลัวการทำฟัน   พาลูกพบหมอฟันเป็นครั้งแรก           ในการมาครั้งแรกของลูกเพื่อทำฟัน จัดฟัน สำหรับเด็ก คุณหมอจะทำการตรวจดูสุขภาพในช่องปาก พร้อมประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุในฟันของเด็ก และให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพปากและฟันของลูกน้อยอย่างถูกวิธี รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร วิธีการให้นม ของลูกรัก เพื่อจะได้นำมาใช้ป้องกันฟันผุไม่ให้เกิดกับเด็ก ๆ  นอกจาการตรวจฟันแล้ว คุณหมอจะทำการเคลือบหรือทาฟลูออไรด์ เพื่อเป็นการป้องกันฟันผุให้กับลูกของคุณ   […]

ฟันสึก ฟันกร่อน ป้องกันได้อย่างไร

ฟันสึกฟันกร่อน

การสึกกร่อนของฟันคืออะไร?            การสึกกร่อนคือการสึกของผิวฟันโดยกรด   กรดจะละลายสารเคลือบฟันและเนื้อฟัน ซึ่งจะมีหลายรูปแบบที่ทำให้โครงสร้างฟันและเนื้อฟันหายไป   อาการเมื่อเกิดฟันสึก ฟันกร่อน การสึกกร่อนของฟันหากเป็นมากๆ อาจจะทำให้คุณมีอาการดังนี้ได้ รู้สึกเจ็บปวดหรือรู้สึกเสียวเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อน เย็น หรือหวาน ฟันอาจจะมีสีเหลือง หากปล่อยไว้นาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเช่น ฟันจะผุ เกิดจุดบนฟัน ฟันหก    หากเกิดการสึกกร่อนมากๆ คุณอาจต้องอุดฟัน ครอบฟัน คลองรากฟัน ถอนฟัน  หรือ วีเนียร์   4 สาเหตุหลักที่ทำให้ฟันสึกฟันกร่อน 1.อาหารและเครื่องดื่ม อาหารที่มีน้ำตาล เช่น ไอศกรีม น้ำเชื่อม และคาราเมล อาหารประเภทแป้ง เช่น ขนมปังขาว อาหารที่เป็นกรด เช่น แอปเปิล ผลไม้รสเปรี้ยว ผลเบอร์รี่ และรูบาร์บ ผลไม้รสเปรี้ยว (ส้ม มะนาว และเกรปฟรุต) รวมทั้งผักดองและน้ำส้มสายชู  เครื่องดื่มผลไม้และน้ำผลไม้ น้ำอัดลม […]

ทำไมต้องใช้ไหมขัดฟันทุกวัน

ไหมขัดฟัน

             การดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากให้มีสุขภาพดีนั้น เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรเอาใจใส่ และให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะปากคือทางผ่านของทุกสิ่ง ที่สามารถเข้าสู่ร่างกาย ต่อให้เราทานอาหารสะอาดแค่ไหน แต่เราไม่ทำความสะอาดช่องปาก ก็ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน ฟัน มีบทบาทสำคัญมากกว่าแค่การบดเคี้ยวอาหาร เพราะฟันเป็นตัวช่วยในการออกเสียงให้ชัดเจน และเป็นส่วนช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้แก่ตัวบุคคลด้วย ทำไมเราจึงต้องใช้ไหมขัดฟันทุกวัน            การที่เราใช้ไหมขัดฟันทุกวันนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะการแปรงฟันในแต่ละครั้ง มักจะมีจุดที่แปรง สีฟันไม่สามารถเข้าถึง จึงทำให้ไม่สามารถทำความสะอาดตรงจุดนั้นได้ หากเราปล่อยไว้นานๆก็จะทำให้มีเศษอาหารมาติด มีการก่อตัวของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นจะทำลายฟันและผิวเคลือบฟันของเราจนผุ นอกจากนี้ยังทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ และถ้าถึงขั้นรุนแรงอาจทำให้เกิดโรคปริทันต์ตามมาได้ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุที่นำพาไปสู่การสูญเสียฟันได้ ดังนั้นการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวันถือเป็นสิ่งจำเป็น การใช้ไหมขัดฟันควรทำตอนไหน            ถ้าเป็นไปได้การแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันควรทำทันทีหลังจากการรับประทานอาหารเสร็จ แต่ถ้าหากไม่มีเวลาว่างพอก็ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด แล้วค่อยใช้ไหมขัดตอนก่อนนอนก็ได้ค่ะ แต่ต้องใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งนะคะโดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ ก่อนเข้านอน เพราะหลังจากเราเข้านอนแล้วเราไม่สามารถรับประทานอาหารได้อีก การใช้ไหมขัดฟันขัดก่อนนอนจะทำให้ฟันสะอาดนานถึงเช้า ไม่มีเศษอาหารติดค้าง และหลังจากใช้ไหมขัดฟันแล้วควรแปรงฟันหลังการขัดฟันด้วยจะช่วยให้ฟันสะอาดยิ่งขึ้น   ประโยชน์ของไหมขัดฟัน ประโยชน์ของไหมขัดฟันมีดังต่อไปนี้ ไหมขัดฟันช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน ได้อย่างสะอาดหมดจด ไหมขัดฟันช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามร่องฟัน ติดอยู่ร่องโคนฟันได้ ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดฟันซี่ด้านในที่แปรงสีฟันไม่สามารถเข้าถึงได้ ช่วยลดการเกิดกลิ่นปาก เพราะเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหากลิ่นปาก ขั้นตอนที่สาม ทำความสะอาดระหว่างช่องฟัน […]

จัดฟันสามารถเสริมจมูกได้ไหม

จัดฟันอยู่สามารถเสริมจมูกได้ไหม

       จัดฟันอยู่สามารถเสริมจมูกได้ไหม? เป็นคำถามที่ยอดฮิตจริง ๆ ของบรรดาหนุ่ม ๆ สาว ๆ ทุกคนเลยก็ว่าได้ เพราะหลายคนที่มาจัดฟัน ก็เพราะอยากจะเปลี่ยนแปลงให้ตัวเองดีขึ้น สวย, หล่อ ดูดีขึ้น ทำให้หลายคนที่เคยได้ยินว่า การจัดฟัน จะช่วยทำให้จมูกโด่งขึ้น จนเป็นทำให้เกิดการวิตกกังวลกันว่า ฟันกับจมูกเกี่ยวข้องกัน ขณะที่กำลังจัดฟัน ทำจมูก ก็กลัวจะเกิดอันตราย กลัวจมูกเบี้ยว ในช่วงระหว่างที่กำลังจัดฟัน หากทําศัลยกรรม จะเกิดอันตราย มีผลข้างเคียงหรือไม่? หรือจะต้องทำยังไงดี จะต้องทำอะไรก่อน หรือต้องรอให้ จัดฟันเสร็จแล้วค่อยไป ทำศัลยกรรม หรือไม่ ? วันนี้ เราได้รวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องมาฝากดังนี้        ต้องขอบอกเลยว่าจริง ๆ แล้วเรื่องของการจัดฟัน และการทำจมูก เพื่อความสวยความงามนั้นเป็นคนละส่วนกันสามารถที่จะทำแยกกันได้โดยไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่าฟันกับจมูกอยู่กันคนละฐานของกระดูกอยู่แล้ว เพราะโดยปกติ การทำจมูก คุณหมอก็จะวางซิลิโคนที่ทำจมูก ไว้บนกระดูกของจมูก ส่วน การจัดฟัน ก็จะเป็นการปรับจากฐานของฟันทำให้เกิดการเรียงตัวกันได้สวยงามตามที่ทางทันตแพทย์ได้วางแผนเอาไว้ ซึ่งจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันเลย        แต่ในบางกรณีสำหรับคนที่จัดฟันอยู่แล้วหากต้องการจะไปเสริมจมูก  ขอแนะนำให้ไปปรึกษากับทันตแพทย์ และคุณหมอที่จะทำการเสริมจมูกให้เราก่อน […]

7 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจจัดฟัน

ข้อควรรู้ก่อนการจัดฟัน

       สำหรับสิ่งที่เราควรรู้ก่อนการตัดสินใจจัดฟัน อย่างแรกที่เราต้องทำ คือ การศึกษาข้อมูลเรื่องการจัดฟัน ต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องใดบ้าง  วันนี้เรามี 7 ข้อมาแนะนำ เพื่อให้ท่านได้นำไปศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจที่จะจัดฟันกันนะคะ คลินิกทันตกรรมที่เราจะจัดฟันเราต้องมีความสะดวกในการเดินทาง ระยะทางต้องไม่ไกลเกินไป เพราะการจัดฟันที่มีประสิทธิภาพ ต้องอยู่ในความดูแลของทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่กำหนด และการจัดฟันต้องใช้ระยะเวลาในการจัดฟันประมาณ 1-3 ปี ถ้าเราเลือกคลินิกที่อยู่ไกลหรือไม่สะดวกต่อการเดินทางก็อาจจะทำให้เป็นปัญหาได้ในภายหลัง อัตราค่ารักษาที่ต้องใช้จ่ายในการจัดฟัน สามารถผ่อนจ่ายได้หรือไม่ เพื่อที่เราจะได้วางแผนและเตรียมพร้อมเรื่องค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง ข้อสำคัญคือ เราควรจัดฟันกับทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการจัดฟันโดยเฉพาะ เพราะการจัดฟันเป็นการรักษาปัญหาฟัน ไม่ใช่จัดเพื่อแฟชั่น   ดังนั้นทันตแพทย์ที่จะรักษาและจัดฟันให้เราต้องมีความรู้และความชำนาญเฉพาะด้านเท่านั้น เพื่อให้การจัดฟันได้ผลดีมีประสิทธิภาพมากที่สุดและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพช่องปากของเราด้วย ก่อนที่เราจะจัดฟันเราควรเข้าไปพบทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอคำปรึกษาเรื่องการจัดฟัน ทันตแพทย์จะตรวจโครงสร้างของฟันและช่องปากของเรา ว่าฟันของเรามีปัญหาสมควรจัดฟันหรือไม่ โดยลักษณะของฟันที่ควรจัดฟันเช่น ฟันบนมีลักษณะยื่นออกมาก ฟันล่างมีลักษณะยื่นออกมาก ฟันกัดคร่อม ฟันสบเปิด ฟันกัดเบี้ยว ฟันห่าง ฟันมีลักษณะซ้อนกัน ก่อนจะทำการจัดฟันจะต้องมีค่าใช่จ่ายเกี่ยวกับการเคลียร์ช่องปากก่อนการจัดฟัน ซึ่งการเคลียร์ช่องปากของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของแต่ละบุคคล เช่น อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด เป็นต้น ซึ่งทันตแพทย์จะแจ้งให้ทราบก่อนการจัดฟัน เช็ค Feedback ของคลินิก จากประสบการณ์ของผู้ที่เคยจัดฟันจากคลินิกมาก่อน […]

สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก และวิธีการแก้ไข

กลิ่นปาก

           กลิ่นปากถือว่าเป็นปัญหาต้นๆที่เกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากเลยก็ว่าได้ เพราะ กลิ่นปาก เป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ที่ออกมาจากปาก ภาวะที่มีกลิ่นปากอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรืออาจเป็นภาวะเรื้อรังก็ได้ อาจเกิดจากอาหารที่บุคคลรับประทาน สุขอนามัยช่องปากไม่ดี โรคภัย หรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งทำให้มีผลต่อการบุคลิกภาพ และหากเป็นปล่อยไว้นานๆจะทำให้มีผลต่อสุขภาพได้   อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก อาหาร ที่เราทานกันทุกวันนี้ถือว่า เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นปากเลยก็ว่าได้ โดยอาหารสามารถแยกสาเหตุเป็นข้อๆดังนี้  กลิ่นจากอาหาร เช่นกระเทียม หัวหอม อาหารรสจัด เครื่องเทศที่แปลก ชีส ปลา และเครื่องดื่มที่เป็นกรดบางชนิดเช่น กาแฟ ส่วนใหญ่กลิ่นจะอยู่ได้ไม่นาน เศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน ที่เราทำความสะอาดไม่ทั่วถึง เมื่อไม่แปรงฟันหรือไม่ได้ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เศษอาหารที่เหลืออยู่ในปากอาจเน่าและทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ การดูแลทันตกรรมที่ไม่ดีอาจนำไปสู่การสะสมของคราบจุลินทรีย์ในปาก ซึ่งทำให้มีกลิ่นของตัวเอง การสะสมของคราบจุลินทรีย์บนฟันยังสามารถนำไปสู่ภาวะที่ไม่แข็งแรงที่เรียกว่าโรคปริทันต์ (เหงือก) เมื่อคราบพลัคแข็งตัว จะเรียกว่า ทาร์ทาร์ (แคลคูลัส) เคลือบฟันมีแบคทีเรียที่สามารถระคายเคืองเหงือกและนำไปสู่โรคเหงือก โรคเหงือกแบบอ่อนๆ เรียกว่าโรคเหงือกอักเสบ  หากไม่รักษาเหงือกอักเสบก็อาจจะทำให้ลุกลามไปสู่โรคปริทันต์ได้ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำอาจทำให้เกิด “ลมหายใจคีโตน” อาหารเหล่านี้ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ผลลัพธ์สุดท้ายของการสร้างพลังงานนี้คือคีโตน ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นคล้ายอะซิโตนในลมหายใจเมื่อหายใจออก กลิ่นผลไม้ในผู้ป่วยเบาหวานอาจบ่งบอกถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ […]

รักษารากฟันต้องครอบฟัน?

รักษารากฟันจำเป็นต้องครอบฟันหรือไม่

          ในชีวิตของคนเราทุกคนมีฟันเพียงแค่ 2 ชุดเท่านั้น ได้แก่ ฟันน้ำนมและฟันแท้ โดยที่ฟันแท้จะอยู่ให้เราใช้งานไปตลอดชีวิต แต่เมื่อวันหนึ่งที่สุขภาพฟันมีปัญหาเกี่ยวกับรากฟันหรือโพรงประสาทฟัน ซึ่งในอดีตนั้นทันตแพทย์จะรักษาด้วยการถอนฟันเพียงอย่างเดียว ขณะที่ปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยวิธีรักษารากฟันเพื่อช่วยลดการสูญเสียฟัน   รักษารากฟันคืออะไร           การรักษารากฟันเป็นขั้นตอนการทำทันตกรรมเพื่อแก้ปัญหาโพรงประสาทฟันอักเสบ ซึ่งทันตแพทย์จะทำการตัดโพรงประสาทฟันหรือเนื้อเยื่อด้านในออกแล้วทำความสะอาด จากนั้นเป็นขั้นตอนอุดเพื่อปิดคลุมรากฟันโดยไม่ต้องถอนฟันออก           สำหรับสาเหตุของการเกิดโพรงประสาทฟันอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สังเกตได้จากอาการปวดฟันหรือเสียวฟันเป็นประจำ จึงอาจหมายถึงรากฟันกำลังมีปัญหานั่นเอง ทำไมต้องรักษารากฟัน           สาเหตุที่เราจำเป็นจะต้องรักษารากฟัน นั่นก็เป็นเพราะว่าส่วนมากจะเป็นฟันผุที่ลงลึกมากจนไปทะลุถึงโพรงของประสาทฟัน ฟันที่ร้าว, ฟันแตกหัก, หรือฟันสึกกร่อนจนทะลุโพรงประสาทฟัน และฟันที่ได้รับการกระแทกจากการได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง ทั้งหมดเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่นำพาให้เชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทของฟันและทำให้เนื้อเยื่อของฟันเกิดการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันได้อีก   การที่เราจะปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นาน ๆ ยังจะนำพาเชื้อโรคให้ออกไปทำลายกระดูกบริเวณรอบ ๆ ฟันของเรา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ หรือมีตุ่มหนองทั้งภายในช่องปาก หรือตรงบริเวณใบหน้า ถ้าหากในกรณีที่กระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้ไม่สามารถเก็บฟันหรือรักษาฟันไว้ได้เลย  จึงจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาภายในตัวฟัน ด้วยการนำเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อจนเป็นหนองหรือเสียหายออกจากรากฟัน และทำความสะอาดรากฟัน โดยทั่วไปแล้วการรักษารากฟัน คนไข้จะต้องมาพบกับทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง     ดังนั้นการรักษารากฟันจึงเป็นการนำเอาเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายและเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่อยู่ในโพรงของประสาทฟันออกมา และเป็นการทำความสะอาดโพรงประสาทฟันหรือคลองรากฟันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ หรือเป็นหนองที่รากฟันได้ในอนาคต     ครอบฟันคืออะไร […]