วิธีการรักษาฟันร้าว

วิธีการรักษาฟันร้าว

 

        ฟันร้าวมีลักษณะการเกิดรอยร้าวหรือว่ารอยแตกที่บริเวณผิวฟัน ซึ่งจะมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะอาการแสดงออกบ้างเมื่อคนไข้ทานอาหารร้อนจัด หรือว่าเย็นจัด จะเกิดอาการเสียวฟันและมีอาการเจ็บจี๊ด ๆ ในขณะที่เคี้ยวอาหาร นั่นก็คือสัญญาณว่าฟันของคุณกำลังมีรอยร้าว อาการของฟันร้าวเริ่มต้นอาจจะดูไม่ร้ายแรงมากหนัก เพราะอาการที่เกิดขึ้นก็คือ เสียวฟัน และเจ็บฟัน เวลาที่เรากัดหรือว่าทานอาหาร รวมถึงไปการทานอาหารที่ร้อนจัด หรือเย็นจัดจะเกิดอาการเสียวฟัน และจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเท่านั้น

แต่ถ้าหากคนไข้มีอาการเจ็บปวดต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา จะไม่ใช่เป็นแค่ช่วงเวลาที่กำลังรับประทานอาหาร แต่เป็นอาการที่บ่งบอกว่าฟันของเราเริ่มจะมีปัญหาแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดการอักเสบที่รากฟันรวมทั้งเหงือกได้ และอาการฟันร้าวก็เกิดมาจากหลาย ๆ สาเหตุโดยที่เราไม่ได้คาดคิดดังนี้

สาเหตุที่ทำให้เกิดฟันร้าว

    • การใช้แรงในการกัด หรือว่าการบดเคี้ยวอาหารที่แข็งมากจนเกินไป
    • คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของช่องปากอยู่ก่อนแล้ว เช่น ฟันที่ทำหน้าที่ไว้บดเคี้ยวอาหารไม่สบกัน จึงทำให้ฟันข้างใดข้างหนึ่งต้องใช้แรงในการบดเคี้ยวมากเกินไป
    • อุณหภูมิภายในช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลันบ่อยครั้ง และเป็นฉะเพราะเมื่อเวลาเรารับประทานอาหารที่มีความร้อนจัด หรือว่าเย็นจัด
    • การนอนกัดฟัน จะทำให้ฟันของเรามีการบดเคี้ยว และกัดที่ค่อนข้างจะแรงในขณะนอนหลับ นั่นจึงเป็นสาเหตุทำให้ฟันของเราเกิดเสื่อม หรือฟันสึก จนทำให้ฟันร้าวได้
    • การที่มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่ เนื่องจากว่าการอุดฟันที่มีขนาดใหญ่อาจจะทำให้ความแข็งแรงของฟันลดลง จนทำให้เนื้อของฟันเกิดเป็นรอยร้าวขึ้นได้
    • การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกับฟันโดยตรง อย่างเช่น ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ การทะเลาะวิวาท การเล่นกีฬา เกิดการหกล้ม เป็นต้น

        ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกมีฟันร้าวและอาการแสดงออกอย่างชัดเจนแล้ว ต้องรีบไปพบทันตแพทย์  เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจเช็คอาการทันทีว่าจะต้องรักษาอย่างไร
โดยมีแนวทางการรักษา ดังนี้

  1. รักษาและติดตามตามอาการ ในกรณีที่คนไข้ฟันร้าว แต่แสดงอาการไม่รุนแรงมาก ยังไม่มีอาการเจ็บปวดต่อเนื่อง ทันตแพทย์จะเฝ้าติดตามดูอาการของคนไข้เป็นระยะ ๆ โดยคนไข้จะต้องปรับในเรื่องการทานอาหารทีมีลักษณะอ่อนลง ไม่กัด  ไม่เคี้ยวอาหารแข็ง และต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาด รวมไปถึงการสังเกตอาการภายในช่องปากของตนเองให้มากขึ้น
  2. การอุดฟัน ทันตแพทย์อาจจะเลือกใช้วิธีการอุดฟันเพื่อเป็นการซ่อมแซมบริเวณที่เกิดรอยร้าว

     

  3. การครอบฟัน เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดรอยร้าวเพิ่มขึ้น โดยช่วงแรกทันตแพทย์จะทำการประเมินโดยวิธีการครอบฟันแบบชั่วคราว เพื่อให้ถึงเวลาในการใส่ครอบฟันจริง ซึ่งหากคนไข้มีการดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากเป็นอย่างดีการครอบฟันจะสามารถใช้งานได้หลายปี

     

  4. การรักษารากฟัน จะทำในต่อเมื่อคนไข้มีฟันร้าวที่ค่อนข้างวิกฤติแล้ว เนื่องจากว่ารอยร้าวมีความลึกลงไปจนถึงประสาทฟัน ซึ่งจะต้องรักษาด้วยการนำโพรงประสาทฟันที่ถูกทำลายแล้วไปซ่อมแซมใหม่

     

  5. การถอนฟัน กรณีนี้ก็จะเกิดขึ้นกับคนไข้ที่วิกฤติแล้วเช่นกัน ที่ไม่สามารถเก็บฟันที่ร้าวไว้ได้แล้ว เนื่องจากว่าโครงสร้างฟัน, ประสาทฟัน และรากฟันได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ทันตแพทย์จะต้องประเมินว่าต้องถอนฟันออกทันที

 

 

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟัน

ร่วมแชร์กับ Getstorypoint

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *