ในชีวิตของคนเราทุกคนมีฟันเพียงแค่ 2 ชุดเท่านั้น ได้แก่ ฟันน้ำนมและฟันแท้ โดยที่ฟันแท้จะอยู่ให้เราใช้งานไปตลอดชีวิต แต่เมื่อวันหนึ่งที่สุขภาพฟันมีปัญหาเกี่ยวกับรากฟันหรือโพรงประสาทฟัน ซึ่งในอดีตนั้นทันตแพทย์จะรักษาด้วยการถอนฟันเพียงอย่างเดียว ขณะที่ปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยวิธีรักษารากฟันเพื่อช่วยลดการสูญเสียฟัน
รักษารากฟันคืออะไร
การรักษารากฟันเป็นขั้นตอนการทำทันตกรรมเพื่อแก้ปัญหาโพรงประสาทฟันอักเสบ ซึ่งทันตแพทย์จะทำการตัดโพรงประสาทฟันหรือเนื้อเยื่อด้านในออกแล้วทำความสะอาด จากนั้นเป็นขั้นตอนอุดเพื่อปิดคลุมรากฟันโดยไม่ต้องถอนฟันออก
สำหรับสาเหตุของการเกิดโพรงประสาทฟันอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สังเกตได้จากอาการปวดฟันหรือเสียวฟันเป็นประจำ จึงอาจหมายถึงรากฟันกำลังมีปัญหานั่นเอง

ทำไมต้องรักษารากฟัน
สาเหตุที่เราจำเป็นจะต้องรักษารากฟัน นั่นก็เป็นเพราะว่าส่วนมากจะเป็นฟันผุที่ลงลึกมากจนไปทะลุถึงโพรงของประสาทฟัน ฟันที่ร้าว, ฟันแตกหัก, หรือฟันสึกกร่อนจนทะลุโพรงประสาทฟัน และฟันที่ได้รับการกระแทกจากการได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง ทั้งหมดเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่นำพาให้เชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทของฟันและทำให้เนื้อเยื่อของฟันเกิดการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันได้อีก
การที่เราจะปล่อยฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นาน ๆ ยังจะนำพาเชื้อโรคให้ออกไปทำลายกระดูกบริเวณรอบ ๆ ฟันของเรา ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ หรือมีตุ่มหนองทั้งภายในช่องปาก หรือตรงบริเวณใบหน้า ถ้าหากในกรณีที่กระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้ไม่สามารถเก็บฟันหรือรักษาฟันไว้ได้เลย จึงจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาภายในตัวฟัน ด้วยการนำเอาเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อจนเป็นหนองหรือเสียหายออกจากรากฟัน และทำความสะอาดรากฟัน โดยทั่วไปแล้วการรักษารากฟัน คนไข้จะต้องมาพบกับทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง
ดังนั้นการรักษารากฟันจึงเป็นการนำเอาเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายและเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่อยู่ในโพรงของประสาทฟันออกมา และเป็นการทำความสะอาดโพรงประสาทฟันหรือคลองรากฟันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบ หรือเป็นหนองที่รากฟันได้ในอนาคต
ครอบฟันคืออะไร
ในกรณีที่ฟันมีปัญหาได้รับความเสียหาย เกิดการแตกหัก หรือผ่านการรักษารากฟันมาแล้ว การครอบฟันจะช่วยปกป้องให้ฟันมีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถใช้งานได้ตามปกติอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้วัสดุต่าง ๆ ครอบฟันซี่นั้น โดยเฉพาะผู้ที่เคยรักษารากฟันมาแล้ว ฟันจะมีลักษณะค่อนข้างเปราะบางกว่าฟันซี่ปกติ
ดังนั้นการครอบฟันจึงเปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันให้กับฟันซี่ที่อ่อนแอ ลดความเสี่ยงการเกิดความเสียหายซ้ำซ้อน เพราะการรักษารากฟันมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและใช้เวลานานพอสมควร ถ้าเกิดความเสียหายก็เท่ากับว่ารักษารากฟันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร
สาเหตุที่ต้องครอบฟัน
- เกิดจากฟันผุที่มีขนาดใหญ่และเยอะ เนื้อฟันเหลือน้อยจึงไม่สามารถทำการรักษาได้ด้วยการอุดฟัน
- ฟันที่แตกควรที่จะต้องรักษาด้วยการครอบฟัน เพื่อเป็นการเก็บรักษาฟันตามธรรมชาติไว้ให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
3.ฟันที่ร้าว อาจจะมีผลทำให้ฟันแตกได้ในอนาคต จึงควรที่จะทำครอบฟันเพื่อเป็นการป้องกันไว้
- ฟันที่เคยผ่านการรักษารากฟันมาก่อน มีเนื้อฟันที่ไม่แข็งแรงเหมือนกับฟันปกติทั่วไป
- สีของฟันและรูปร่างฟันที่ไม่สวยงาม เหมือนกับฟันซี่ข้างเคียง

การครอบฟันหลังรักษารากฟันจำเป็นหรือไม่
ทำไมต้องครอบฟันหลังจากรักษารากฟัน
เพราะฟันซี่ที่เราทำการรักษารากฟันจะถูกขูดเนื้อฟันที่ผุหรือออกบางส่วน ทำให้ฟันของเราบางขึ้น เมื่อเรากัดหรือกระทบกับอะไรแรงๆ ฟันของเราจะแตกและหักได้ง่ายกว่าซี่ฟันอื่นๆ ดังนั้นการครอบฟันจะช่วยให้ฟันของเราแข็งแรงขึ้นและลดการแตกหักนั่นเอง
ใครบ้างควรครอบฟันหลังจากรักษารากฟัน
- กรณีคนไข้มีอายุน้อย
ยังไม่ควรครอบฟัน เนื่องจากโครงสร้างกระดูกและฟันของคนไข้ในวัยนี้ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (ฟันของเด็กยังต้องมีงอกอย่างต่อเนื่องให้สมบรูณ์) เพราะฉะนั้นจึงยังไม่เหมาะสมกับการรักษาฟันด้วยวิธีครอบฟัน เนื่องจากจะทำให้เห็นขอบของวัสดุไปครอบฟันทำให้ฟันฟันงอกหรือเจริญเติบโตของฟันไม่เป็นไปตามวัยที่ควรจะเป็น - กรณีคนไข้มีฟันผุไม่มาก โดยมีเนื้อฟันปกติมากกว่าปริมาณที่สูญเสียไป ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน แต่ก็อาจจะเสี่ยงต่ออาการฟันแตก ฟันหัก หรือฟันร้าวได้ เพราะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ฟันของคนไข้แต่ละคนว่าทำให้ฟันเสียหายมากน้อยเท่าใด
การรักษารากฟันหรือครอบฟันเป็นเพียงทางเลือกของการรักษาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพฟันที่เกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้น สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยลดความเสียหายของฟันได้ดี นั่นคือดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันด้วยตนเองอย่างถูกวิธี พร้อมกับตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก 6 เดือน เพื่อให้มีสุขภาพฟันที่ดี ไม่ต้องเสี่ยงกับอาการปวดฟันที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการสูญเสียฟันก่อนเวลา จนกระทั่งต้องใช้ฟันชุดที่ 3 อันหมายถึง “ฟันปลอม” ในที่สุด
ที่มา : รักษารากฟันหรือถอนฟันดีกว่ากัน