10 วิธีพัฒนาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กพร้อมกับสุขภาพ

ปรับปรุงพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก

10 วิธีง่ายๆในชีวิตประจำวัน  สามารถปรับปรุงพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กได้

 

      หากคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกน้อย ที่บ้างครั้งอาจจะงอแง่หนักมากหรือร้องไห้ อารมณ์เสียบ่อยๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านั้นเราสามารถปรับได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน   เรามาลองดูกันนะคะ ว่าเราจะช่วยปรับนิสัยของลูกเราได้อย่างไรบ้างค่ะ

 

  1. การดื่มน้ำให้เพียงพอ

หลังจากที่เราได้พยายามดื่มน้ำให้ได้ 8 ออนในแต่ละวันทำให้ได้รู้ว่าการดื่มน้ำมีผลดีมากมายซึ่งไม่ใช่แค่ดีต่อร่างกายเท่านั้นยังส่งผลดีต่อสมองของเราด้วยเช่นกัน และการที่ได้รับน้ำไม่เพียงพอนั้นจะทำให้สมาธิและความจำของเราลดลงทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าจนมีผลกระทบต่ออารมณ์และการแสดงออก

สำหรับเด็กๆแล้วพวกเขามีความเสี่ยงที่จะได้รับน้ำไม่เพียงพอเพราะต้องให้ผู้ใหญ่คอยดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง

 

  1. เด็กที่พักผ่อนเพียงพอคือเด็กที่มีความสุข

คุณคงเคยได้ยินเรื่องของจังหวะเวลาในการนอนและการตื่นนอนในแต่ละวันมาบ้างแต่อาจจะไม่ทันคิดว่าสิ่งนี้มันมีความสำคัญต่อจิตใจและความรู้สึกของเด็กมากแค่ไหน

จังหวะการนอน-ตื่นนอนนั้นเป็นส่วนสำคัญต่อสุขภาพจิตเป็นอย่างมากเพราะมันส่งผลถึงฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งรองรับอารมณ์ ความเจ็บปวดจากความเครียดในการนอนหลับ และภาวะซึมเศร้า

เมื่อเด็กนอนหลับไม่เพียงพอหรือถูกรบกวนการนอนจะส่งผลเสียต่อทั้งสารสื่อประสาทและฮอร์โมนซึ่งทำให้สูญเสียการคิด สูญเสียทักษะในการควบคุมอารมณ์ และทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กอีกมากมาย

 

  1. พลังธรรมชาติ

การได้อยู่กับธรรมชาติจะช่วยให้เด็กควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นและส่งผลดีต่ออารมณ์ การรับรู้ ความจำ และลดความวิตกกังวลลง

เราจะพบได้ว่าเด็กที่อยู่ตามเขตตัวเมืองแต่ได้เรียนรู้และมีกิจกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติ (Nature Programs) นั้นสามารถเพิ่มความสามารถและทักษะในการรับมือได้ เข้ากับคนอื่นได้ง่าย และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น

 

  1. เพิ่มโปรตีนที่จำเป็น

เมื่อเด็กได้รับโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายผ่านทางอาหารที่กินในแต่ละมื้อไม่เพียงพอจะส่งผลให้การควบคุมอารมร์ของเด็กลดลงเนื่องจากเซลล์สมองจะสื่อสารกันผ่านสารเคมีที่เรียกว่าสารสื่อประสาท(neurotransmitters) ซึ่งสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีน โดยพื้นฐานแล้วฮอร์โมนและเอ็นไซม์ทั้งหมดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและควบคุมกระบวนการต่างๆ ของร่างกายล้วนประกอบด้วยโปรตีนทั้งสิ้น

ดังนั้นการเพิ่มโปรตีนเข้าไปในอาหารของเด็กในแต่ละวันจะช่วยพัฒนาอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กได้

 

  1. เวทมนต์แห่งสติ

การร่วมทำกิจกรรมเพื่อฝึกสมาธิกับเด็กๆ จะเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อสมองในส่วนของการควบคุมตัวเอง ทักษะการสงบสติอารมณ์ และการมีสมาธิ

 

  1. การเล่นโยคะก็เหมาะสำหรับเด็ก

คุณเคยได้ยินคำพูดนี้ไหม “ถ้าควบคุมลมหายใจได้คุณก็ควบคุมจิตใจได้”

ในปัจจุบันนั้นชีวิตเต็มไปด้วยความเร่งรีบซึ่งการหายใจของเราบางทีก็อาจจะเร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้ร่างกายเกิดความเครียดและวิตกกังวลได้

ดังนั้นเราควรบริหารการหายใจของเราและลูกๆ ด้วยโยคะเพราะโยคะไม่ใช่แค่การยืดกล้ามเนื้อ ฝึกความต้านทานและการทรงตัวเท่านั้นแต่ยังช่วยให้เด็กสามารถควบคุมลมหายใจของตนเองได้ซึ่งส่งผลให้สามารถควบคุมจิตใจได้ดี

เด็กเล่นโยคะ

  1. ค้นพบอาหารสมอง

คุณคือสิ่งที่คุณกิน การเพิ่มการบริโภคอาหารจริงๆด้วยสารอาหารที่มีคุณภาพสามารถช่วยให้บุตรหลานของคุณมีสมาธิ สงบสติอารมณ์ และจัดการอารมณ์และพฤติกรรมได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงสิ่งต่อไปนี้ก็ถือเป็นหารหารสมองด้วย

    • ลดน้ำตาลเทียมและน้ำตาลปกติที่สามารถเปลี่ยนอารมณ์ได้
    • อาหารหลากสีช่วยให้ลูกของคุณได้รับวิตามินและสารอาหารครบถ้วน
    • ทั้งอาหารดิบและอาหารปรุงสุก
    • สังเกตอาหารที่ทำให้ลูกคุณรู้สึกไม่ชอบ/ฉุนเฉียว/อารมณ์เสีย รวมไปถึงอาหารที่ทำให้ลูกอารมณ์ดี

 

  1. ใช้น้ำหอมจากธรรมชาติ

กลิ่นหอมจากธรรมชาติจะช่วยปรับอารมณ์ของเด็กๆ ได้ เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย กลิ่นของมะนาวช่วยให้รู้สึกกระปี้กระเป่า น้ำมันหอมระเหยช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายตอนนอนและช่วยให้มีสมาธิตอนทำการบ้าน

 

  1. เลือดสูบฉีดไม่พอ

การวิจัยระบุว่าสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดมีบทบาทสำคัญในสุขภาพจิตโดยการกระตุ้นปฏิกิริยาทางประสาทเคมีที่สมดุลอารมณ์และพลังงาน กุญแจสำคัญคือการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น

ดังนั้นให้หมั่นออกกำลังกายแอโรบิกประเภทต่างๆ กับลูกของคุณให้เป็นกิจวัตรประจำสัปดาห์

 

  1. เลี่ยงอาหารแปรรูปและแต่งสี

การวิจัยกับกลุ่มเด็กอายุ 3 ขวบพบว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะขาดสมาธิ ขาดการยับยั้งชั่งใจ รบกวนผู้อื่น และนอนไม่หลับเมื่อดื่มน้ำผลไม้ที่ผสมสีและสารกันบูดเนื่องจากการบริโภคอาหารที่ผ่านการขัดสีและแปรรูปมากเกินไปนั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางชีววิทยาที่รองรับอารมณ์และพฤติกรรม (การอักเสบและความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท)  ดังนั้นควรหลีกเหลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานอาหารเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด

 

 

            และสุดท้ายนี้การเริ่มต้นจากสิ่งเล็กก็ช่วยพัฒนาอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กๆ ได้ เช่น เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวก็ให้ลองพูดด้วยความอ่อนโยนว่า “อู๊… นี่มันเหมือนกับสัตว์ประหลาดเลย น่ากลัวจัง ใช่ลูกของแม่ไหมน๊า” เป็นต้น

เรื่องน่ารู้สำหรับเด็ก

ร่วมแชร์กับ Getstorypoint

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *