เด็กทารกยังสื่อสารด้วยการพูดไม่ได้ ทางเดียวที่ทำได้คือ การร้องไห้เพื่อส่งสัญญาณให้พ่อแม่หันมาสนใจและวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ร้องได้เอาเอง แต่บ่อยครั้งที่อาการร้องไห้โยเยของลูกน้อยมีความผิดปกติอย่างหาสาเหตุไม่ได้ คืออาการร้องไห้แบบต่อเนื่องยาวนาน ที่เราเรียกว่า มีอาการโคลิก ซึ่งเป็นอาการที่พ่อแม่ควรเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจลูกน้อยของตัวเอง จะได้ไม่หงุดหงิดเสียเอง
อาการแบบไหนเป็นโคลิก
อาการที่เรียกว่าโคลิกของเด็กทารก ประกอบด้วยเงื่อนไข ดังนี้ คือ
- มักเกิดกับทารกแรกเกิดในวัย 2-4 สัปดาห์ และสุขภาพทั่วไปแข็งแรง กินนมปกติ
- ร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุแบบทั่วๆ ไป เช่น หิว กลัว เหนื่อย หรือมีการปัสสาวะแล้วรำคาญความเปียกชื้น
- ร้องแบบต่อเนื่องทุกวัน ต่อเนื่องแบบเวลาเดิม ร้องทีเป็นเวลานาน อาจจะนานถึง 3 ชั่วโมงก็ได้
- ลักษณะการร้องไห้ จะผิดจากการร้องไห้ปกติ ร้องดัง ร้องเสียงแหลม จะร้องไห้หนักมาก และร้องไห้ในช่วงเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ
- มักร้องไห้ประจำในเวลาเย็นหรือหัวค่ำ
- อาจร้องทุกวันหรืออย่างน้อยมากกว่า 3 วันใน 1 สัปดาห์
- มีอาการร้องผิดปกติแบบนี้ยาวนานเป็นเดือนๆ
- ร้องไห้หนักมาก ร้องนาน ร้องเสียงแหลม หรือกระสับกระส่าย
สาเหตุที่ทำให้ทารกมีอาการโคลิก
แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า อาการโคลิกในทารกเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ แต่ก็สามารถอนุมานได้ว่าอาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
- กล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารเกิดอาการเกร็ง
- มีลมในท้องมากเกินไปจนรู้สึกอึดอัด
- เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งมักสืบเนื่องจากปัญหาทางอารมณ์ของพ่อแม่
- การพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือการระคายเคืองของระบบประสาท
บางครั้งก็เกิดจากทารกมีปปัญหาทางสุขภาพ แม้แต่รำคาญแสงก็เป็นสาเหตุได้เหมือนกัน
ถ้าอาการโคลิกของทารกไม่ได้หนักมากจนถึงขั้นต้องพาไปพบกุมารแพทย์ พ่อแม่อาจช่วยทารกให้ผ่อนคลายโดย อุ้มแล้วโยกไปมาให้เด็กได้อบอุ่นและผ่อนคลาย อาจทำการนวดสำหรับทารกอายุเกิน 6 สัปดาห์ช่วยด้วยก็ได้ เป็นการกระตุ้นระบบย่อย ช่วยไล่ลม ก็พอจะช่วยได้
แต่ถ้ามีอาการหนักเช่น ร้องจนมีอาการตัวอ่อนปวกเปียก พอร้องต่อเนื่องนานหลายๆ วันขึ้นไปจะมีอาการอื่นข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น อาเจียน ไข้สูงมากจนน่ากลัว อาจอุณหภูมิสูงถึง 38-39 องศาเซลเซียส อาจร้องจนตัวเขียว หรือตัวซีด รวมถึงเด็กบางคนร้องจนชักก็มี ดังนั้น จึงต้องคอยสังเกตทารกว่า หายใจผิดปกติหรือไม่ กระหม่อมบุ๋มหรือเปล่า หากมีอาการแปลกจนน่ากลัว ควรนำไปพบแพทย์ด่วน
ทารกไม่สามารถบอกอาการไม่สบายตัวให้เรารู้ได้ พ่อแม่ควรสังเกตและอย่าปล่อยไว้จนอาการหนัก ควรปรึกษาแพทย์หากบรรเทาอาการ อารมณ์ของทารกด้วยตัวเองไม่ได้