ฟันคุด เป็นลักษณะฟันที่ทันตแพทย์ไม่แนะนำให้เก็บเอาไว้ เพราะเป็นฟันที่ขึ้นไม่ได้ตามปกติในช่องปาก ซึ่งมักจะเกิดกับฟันซี่ในสุด และฟันคุดทุกซี่มักจะอยู่ชิดและดันฟันซี่ข้างเคียงเสมอ โดยจะสามารถตรวจว่ามีฟันคุดอยู่ข้างในเหงือกหรือไม่ทำได้โดยการเอกซเรย์ดู เพราะบางครั้งฟันอาจจะฝังตัวอยู่ในกระดูขากรรไกรในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ตะแคง ตั้งตรง ขวาง การเอกซเรย์ฟิล์มพานอรามิกจะเห็นฟันทั้งหมดในกระดูกขากรรไกรทั้งบนและล่าง และเมื่อทันตแพทย์ตรวจพบฟันคุดในปากคนไข้ จะแนะนำให้ถอดออก โดยไม่ต้องรอให้มีการแสดงออกการเจ็บปวด เพราะปล่อยที่ไว้นานฟันก็ไม่สามารถขึ้นได้ และอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้นได้
ประเภทของฟันคุด
- ฟันคุดชนิดล้มไปด้านหน้า เป็นฟันที่หักเป็นมุมไปด้านหน้าของปาก ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด
- ฟันคุดชนิดตั้งตรง เป็นฟันที่มีลักษณะงอกไม่พ้นขอบเหงือกทั้งหมด
- ฟันคุดชนิดหันส่วนครอบฟันออก เป็นลักษณะฟันที่งอไปข้างหลังของปาก
- ฟันคุดชนิดวางตัวในแนวราบ เป็นลักษณะที่พบได้น้อยที่สุด โดยฟันกรามจะทำ 90 องศา ไปด้านข้าง เข้าไปในรากฟันของกรามซี่ที่สอง
ความจำเป็นของการผ่าฟันคุด
- เพื่อป้องกันอาการปวดฟัน เพราะตัวของฟันคุดเองจะมีแรงผลักเพื่อพยายามจะงอกออกมาจากขากรรไกร แต่ถูกกีดกันโดยฟันซี่ข้างๆ หรือปริมาณพื้นที่ๆ มีจำกัด ทำให้แรงที่เกิดขึ้นย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น ซึ่งมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยและปวดมาก หรือในบางครั้งอาจจะปวดฟันคุดจนส่งต่อไปปวดบริเวณอื่นๆ บนใบหน้า อย่าง หู ตาและศีรษะ
- เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะเมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ที่เหงือก แล้วเราไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง แบคทีเรียที่สะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ บวมแดงและเป็นหนอง ซึ่งหากทิ้งไว้จะเป็นอันตรายอย่างมาก
- เพื่อป้องกันฟันข้างๆ ผุ เพราะเมื่อมีฟันคุด มักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย แต่ทำความสะอาดได้ยาก ฟันที่อยู่ซี่ข้างเคียงกับฟันคุดจึงผุเสมอ
- เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก เพราะแรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบๆ ฟันถูกทำลายไปด้วย
- เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก หากเราปล่อยฟันคุดไว้นานๆ อาจจะทำให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยได้รับการตรวจฟันมักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียงหรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง
มีฟันคุดอยู่ในปาก สามารถจัดฟันได้หรือไม่
ในกรณีที่มี ฟันคุดอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำการจัดฟัน ทันตแพทย์ก็แนะนำให้เอาฟันคุดออกเสียตั้งแต่ตอนฟันคุดยังไม่ก่อปัญหา เพราะฟันคุดนั้นไม่ได้สร้างประโยชน์ในช่องปาก ไม่ได้ช่วยให้ระบบบดเคี้ยวดีขั้น ไม่ได้มีหน้าที่ใดๆ ทั้งสิ้น แต่การเอาฟันคุดออกนั้นก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สภาพฟันและเหงือก ฯลฯ ซึ่งทันตแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป บางคนอาจจะใช้วิธีถอนฟันคุดได้ แต่ในบางรายต้องผ่าตัดฟันคุดออกเท่านั้น ส่วนการจัดฟัน จำเป็นต้องถอนฟันคุดออกก่อนหรือไม่ ที่จริงแล้วฟันคุดสามารถผ่าเอาออกได้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจัดฟัน แต่หากเอาออกก่อนการจัดฟันได้ก็จะง่ายและดีต่อการดูแลรักษาช่องปากระหว่างที่จัดฟันมากที่สุด
การปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด
- เมื่อผ่าฟันคุดเสร็จ ต้องกัดผ้าก๊อซนาน 1-2 ชั่วโมง แต่สามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติ
- ในช่วงวันแรกของการผ่าตัด ห้ามบ้วนปาก เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ การบ้วนปากจะสามารถทำได้ในวันที่สอง แต่ไม่ควรบ้วนน้ำบ่อยๆ หรือบ้วนแรงเกินไป เพราะจะทำให้เลือกแข็งตัวปิดแผลหลุดออกแล้วเลือดใหม่จะไหลซึมออกมาได้
- หลังคายผ้าก๊อซออกแล้ว ถ้ายังมีเลือกซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดกัดใหม่อีก 2 ชั่วโมง
- ในวันแรกหลังการผ่าตัดควรประคบน้ำแข็งบริเวณแก้ม แต่พอในวันที่ 2 ของการผ่าตัดให้เปลี่ยนมาประคบน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดอาการบวม
- รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งให้ครับ
- งดการออกกำลังกายหนักๆ ในช่วงวันแรกๆ ของการผ่าตัด
- ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ ในช่วงวันแรกๆ ของการผ่าตัด
- การแปรงฟัน สามารถแปรงได้ตามปกติ และควรจะดูแลช่องปากอย่างถูกต้องด้วย
- หลังจากผ่าตัดครบ 7 วัน ทันตแพทย์จะนัดเข้ามาตัดไหมและดูอาการอีกครั้ง
- หากมีเลือดไหลไม่หยุด ปวดแผลมากๆ หรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ ให้รีบไปพบทันตแพทย์ก่อนวันนัดได้เลย
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามปัญหา ฟันคุด เป็นภัยร้ายที่มักจะซ่อนตัวอยู่ในซอกลึกสุดของฟัน เมื่อยังไม่แสดงอาการหลายคนอาจจะไม่ใสใจ รอจนกระทั้ง ฟันคุด แสดงอาการปวดอย่างรุนแรง เมื่อถึงตอนนั้นก็รักษาก็จะยากและหลายขั้นตอนมากขึ้น เฉพาะนั้นหากสงสัยว่าในช่องปากเรามีฟันคุด ก็ให้รีบไปรัการวินิจฉัยจากทันตแพทย์โดยทันที
คลินิกทันตกรรม สยามสเตชั่น : 6 เหตุผล ทำไมต้องผ่าฟันคุด เก็บไว้ไม่ได้เหรอ?